วันพฤหัสบดีที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2557

การพัฒนาหลักสูตรอบรมครูสังคมศึกษาการจัดการเรียนรู้วิชาหน้าที่พลเมือง และวิชาประวัติศาสตร์

บทที่3
การจัดหลักสูตร
การพัฒนาหลักสูตร
           ความหมายของการพัฒนาหลักสูตร
ได้มีผู้ให้ความหมายของการพัฒนาหลักสูตรไว้ดังนี้
เซเลอร์ อเล็กซานเดอร์ และเลวิส (Salor, Alexander and Lewis 1981 : 7, อ้างถึงใน มาเรียม นิลพันธุ์ และคีรีบูน จงวุฒิเวศย์ 2542 : 9) กล่าวว่า การพัฒนาหลักสูตร หมายถึงการทาหลักสูตรอยู่แล้วให้ดีขึ้น หรือการจัดทาหลักสูตรขึ้นใหม่โดยไม่มีหลักสูตรเดิมเป็นพื้นฐานอยู่เลย รวมไปถึงการผลิตเอกสารต่างๆ สาหรับผู้เรียนด้วย
กาญจนา คุณารักษ์ (2540 : 334, อ้างถึงในสาลินี อุดมผล 2542 : 20) ได้กล่าวถึงการพัฒนาหลักสูตร หมายถึง กระบวนการวางแผนจัดกิจกรรมการเรียนการสอนทุกประเภทเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตามความมุ่งหมายและจุดประสงค์ที่กำหนดไว้ ตลอดจนการวางแผนประเมินผลเพื่อให้ทราบชัดว่า พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงนั้น ตรงตามความมุ่งหมาย และจุดประสงค์จริงหรือไม่เพื่อผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องจะได้พัฒนาปรับปรุงในโอกาสต่อไป
กาธร ไพจิตต์ (2542 :42) ได้ให้ความหมาย การพัฒนาหลักสูตร หมายถึง การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงหลักสูตรที่มีอยู่ หรือการสร้างหลักสูตรขึ้นมาใหม่ เพื่อให้เหมาะสมสอดคล้องกับสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป และสนอมต่อความต้องการของผู้เรียน
จากความหมายของการพัฒนาหลักสูตร ตามแนวคิดของนักการศึกษาและนักวิชาการที่ได้กล่าวไว้ พอจะสรุปได้ว่า การพัฒนาหลักสูตร หมายถึง การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงหลักสูตรที่มีอยู่แล้วให้ดียิ่งขึ้นหรือการสร้างหลักสูตรขึ้นมาใหม่ ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการของสังคมและผู้ใช้หลักสูตร
แนวคิดและรูปแบบการพัฒนาหลักสูตร
ไทเลอร์ (Tylor 1950 :1) เป็นผู้วางแนวคิดในการพัฒนาหลักสูตร อันเป็นหนทางนาไปสู่การพัฒนาหลักสูตรด้วยคาถาม 4 ข้อ ดังนี้ 1) มีจุดมุ่งหมายทางการศึกษาอะไรบ้าง สถานบันการศึกษาจะต้องกำหนดให้ผู้เรียน 2) ประสบการณ์ทางการศึกษาอะไรบ้างที่สถาบันการศึกษาควรจัดขึ้นเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ 3) จะจัดประสบการณ์ทางการศึกษาอย่างไรให้มีประสิทธิภาพ 4) จะพิจารณาได้อย่างใดว่า วัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้บรรลุผลแล้ว
ทาบา (Taba 1962, อ้างถึงใน มาเรียม นิลพันธุ์ และคีรีบูน จงวุฒิเวศย์ 2543 : 10) ได้เสนอรูปแบบขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตรแนวทางการพัฒนาหลักสูตร ไว้ 8 ขั้นตอน ดังนี้
1) สำรวจสภาพปัญหา ความต้องการและความจาเป็นต่างๆ ของสังคมรวมทั้งศึกษาพัฒนากรของผู้เรียน กระบวนการเรียนรู้ ธรรมชาติของความรู้ เพื่อนามาเป็นแนวทางในการกำหนดจุดมุ่งหมาย
2) กำหนดจุดมุ่งหมายของการศึกษา ซึ่งควรเป็นจุดมุ่งหมายที่สามารถนาไปปฏิบัติได้จริง และสามารถนาไปใช้เป็นแนวทางในการเลือกและจัดเนื้อหาและประสบการณ์การเรียน
3) คัดเลือกเนื้อหาวิชา ความรู้ที่จะนามาใช้ในการเรียนการสอน โดยคำนึงถึงความสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้เป็นสำคัญ
4) จัดลาดับเนื้อหาวิชาที่คัดเลือกมา โดยพิจารณาถึงความเหมาะสมในการที่จะให้ผู้เรียนได้รับความรู้ใดก่อนหรือหลังการเรียน อาจลาดับตามความยากง่าย ความกว้าง แคบหรือการเป็นพื้นฐานต่างกัน
5) คัดเลือกประสบการณ์การเรียน โดยคัดเลือกประสบการซึ่งจะนามาเสริมเนื้อหาวิชาและกระบวนการเรียนรู้ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ประสบการณ์นี้จะสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้ด้วย
6) จัดลาดับขั้นประสบการณ์การเรียนตามลาดับก่อนหลัง เพื่อให้การจัดกระบวนการการสอนบรรลุตามจุดหมายที่วางไว้
7) ประเมินผลเป็นการประเมินประสิทธิภาพของหลักสูตรว่า เนื้อหาหรือประสบการณ์ ได้ทาให้เกิดความรู้ตามที่ได้ตั้งจุดมุ่งหมายไว้หรือไม่
8) ตรวจสอบความคงที่ และความเหมาะสมในแต่ละขั้นตอน โดยการตั้งคาถามเพื่อตรวจสอบเนื้อหาที่จัดขึ้น สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายหรือไม่ ประสบการณ์เรียนช่วยให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ตามจุดมุ่งหมายที่ควรจะเป็นหรือไม่
สงัด อุทรานันท์ (2532: 38-43, อ้างถึงใน กาธร ไพจิตต์ 2542: 19) ได้ประยุกต์แนวคิดของ ไทเลอร์ เพื่อเป็นพื้นฐานในการกำหนดขั้นตอนของการพัฒนาหลักสูตรทั้ง 7 ขั้น ดังนี้ 1) การกำหนดข้อมูลพื้นฐานเป็นกระบวนการที่มีความสำคัญและเป็นขั้นตอนแรกของการพัฒนาหลักสูตร เพื่อให้ทราบถึงสภาพปัญหา ความต้องการของสังคมและผู้เรียน ซึ่งจะช่วยให้สามารถจัดหลักสูตรให้สนองตอบกับความต้องการและสามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้ ข้อมูลพื้นฐานของหลักสูตร คือ ข้อมูลด้านประวัติและปรัชญาการศึกษา ข้อมูลเกี่ยวกับผู้เรียนและทฤษฎีการเรียนรู้ ข้อมูลทางสังคมและวัฒนธรรม และข้อมูลเกี่ยวกับธรรมชาติของเนื้อหา 2) การกำหนดจุดมุ่งหมายของหลักสูตร จัดเป็นขั้นตอนสำคัญยิ่งอีกขั้นตอนหนึ่งเป็นขั้นตอนที่กระทาหลังจากได้วิเคราะห์และได้ทราบถึงสภาพตลอดจนความต้องการต่างๆ การกำหนดจุดมุ่งหมายของหลักสูตรนั้น เป็นการมุ่งแก้ปัญหาและสนองความต้องการที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูล อาจเป็นข้อมูลพื้นฐานที่มีอยู่เดิม หรือจากการเก็บรวบรวมข้อมูลความต้องการขึ้นมาใหม่ก็ได้ 3) การคัดเลือกจัดเนื้อหาสาระประสบการณ์การเรียนการสอน ที่นามาจัดไว้ในหลักสูตร จะต้องผ่านการพิจารณากลั่นกรองถึงความเหมาะสม และจาเป็นต้องสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของหลักสูตรที่กำหนดไว้ 4) การกำหนดมาตรการวัดและประเมินผล ขั้นนี้มุ่งที่จะมาเกณฑ์มาตรฐานเพื่อใช้ในการวัดและประเมินผลว่าจะวัดและประเมินผลอะไรบ้าง จึงจะสอดคล้องกับเจตนารมณ์หรือจุดมุ่งหมายของหลักสูตร 5) การทดลองใช้หลักสูตร ขั้นตอนนี้จะมุ่งศึกษาหาจุดอ่อนหรือข้อบกพร่องต่างๆ ของหลักสูตร หลังจากได้มีการร่างหลักสูตรเสร็จแล้ว ทั้งนี้เพื่อหาวิธีการแก้ไขและปรับปรุงหลักสูตรให้ดียิ่งขึ้น 6) การประเมินผลการใช้หลักสูตร หลังจากได้มีการยกร่างหลักสูตรหรือได้ทาการทดลองใช้หลักสูตรแล้ว ก็ควรจะประเมินผลจาการใช้ว่าเป็นอย่างไร มีส่วนไหนที่ควรจะได้รับการปรับปรุงแก้ไขบ้าง ถ้ามีจุดอ่อนหรือไม่เหมาะสมตรงไหน ก็จะต้องปรับปรุงให้เป็นที่เหมาะสมก่อนนาออกไปใช้จริงต่อไป 7) การปรับปรุงแก้ไขหลักสูตรก่อนนาไปใช้ หลังจากที่ได้มีการตรวจสอบประประเมินผลเบื้องต้นแล้วหากพบว่าหลักสูตรมีข้อบกพร่องจะต้องปรับปรุงแก้ไขหลักสูตรบรรลุผลตามเป้าหมายที่กำหนดไว้

การดาเนินตามกระบวนการต่างๆ เหล่านี้ จัดได้ว่าเป็นวัฏจักรที่มีความต่อเนื่องกัน ซึ่งหากขาดขั้นตอนหนึ่งไปแล้ว จะทาให้การพัฒนาหลักสูตรนั้นขาดความสมบูรณ์ ไปได้ ดังแสดงในแผนภูมิ
แผนภูมิ แสดงกระบวนการพัฒนาหลักสูตร ตามแนวคิดของ สงัด อุทรานันท์
ที่มา : สงัด อุทรานันท์ ,พื้นฐานและหลักการพัฒนาหลักสูตร (กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มิตรสยาม, 2532) ,38-43.
องค์ประกอบของหลักสูตร
ได้มีผู้กล่าวถึงองค์ประกอบของหลักสูตร ที่มีความสัมพันธ์และสอดคล้องดังนี้
ทาบา (Taba 1962 : 10) ได้เสนอไว้ว่า หลักสูตรไม่ว่าจะสร้างขึ้นมาในลักษณะใดก็ตาม ย่อมประกอบด้วยส่วนสาคัญ 4 ส่วน คือ 1) จุดมุ่งหมาย (Aim and Specific Objective) เป็นส่วนที่กล่าวถึงจุดมุ่งหมายทั่วไปและวัตถุประสงค์เฉพาะวิชา 2) เนื้อหาวิชา (Content) เป็นส่วนที่กล่าวถึงเนื้อหาวิชาที่จัดไว้ในหลักสูตรเพื่อให้ผู้เรียนได้ศึกษาจนมีคุณลักษณะตามจุดมุ่งหมาย 3) กิจกรรมและรูปแบบการเรียนการสอน (Learning and Teaching Implier) เป็นส่วนหนึ่งที่กล่าวถึงวิธีการและกระบวนการหนึ่งที่จะทาให้ผู้เรียน ได้รับเนื้อหาวิชาอย่างมีประสิทธิภาพ 4) การประเมินผล (Evaluation Program) เป็นส่วนหนึ่งที่กล่าวถึงวิธีการตรวจสอบว่าผู้เรียนได้บรรลุตามวัตถุประสงค์เพียงใด เคอร์ (Kerr 1989 : 16-17) ได้แบ่งส่วนประกอบของหลักสูตรไว้ 4 ส่วน คือ 1) วัตถุประสงค์ของหลักสูตร (Curriculum Objective) 2) ความรู้ (Knowledge) 3) ประสบการณ์การเรียน (Learning Experience) และ 4) การประเมินหลักสูตร (Curriculum Evaluation)
        มาเรียม นิลพันธุ์ และ คีรีบูน จงวุฒิเวศย์ (2543 : 12 ) ได้กล่าวว่าในการสร้างหลักสูตรประกอบด้วยองค์ประกอบที่สาคัญ 4 ส่วน คือ 1) จุดประสงค์ /วัตถุประสงค์ 2) เนื้อหาหลักสูตร/ การจัดประสบการณ์ 3) กระบวนการเรียนการสอน หรือกระบวนการอบรม 4) การประเมินผล
        สรุปได้ว่า ส่วนประกอบหลักสูตรที่สาคัญ ประกอบด้วย วัตถุประสงค์ เนื้อหาความรู้ กิจกรรมการเรียนรู้ และการประเมินผล ซึ่งสามารถนามาจัดทาหลักสูตรฝึกอบรมให้สอดคล้องได้ โดยการปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรขึ้นตามความต้องการของสภาพปัจจุบันปัญหา และการจดทาหลักสูตรต้องคานึงถึงการมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ดังนี้ บราดี้ (Brady 1995 : 80-81) ชี้ให้เห็นถึงรูปแบบองค์ประกอบของหลักสูตร ที่มีการปฏิสัมพันธ์กันตามแนวคิดของ ทาบา (Taba) ดังแผนภูมิที่แสดงไว้ ดังนี้
แผนภูมิ แสดงรูปแบบการมีปฏิสัมพันธ์กันขององค์ประกอบของหลักสูตร
ที่มา : ทาบา , อ้างถึงใน Brady, Curriculum Development (Prentice Hall of Australia, 1995). 81.
แบบจาลองการพัฒนาหลักสูตร
การพัฒนาหลักสูตรมีตัวอย่างแบบจาลองของนักทฤษฎีในการพัฒนาหลักสูตรดังนี้
1.รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรของไทเลอร์ (Tyler Model)
แนวคิดและรูปแบบการพัฒนาหลักสูตรของไทเลอร์
ไทเลอร์ (Tyler. 1950 : 11 ) ได้ให้แนวคิดในการวางแบบโครงสร้างหลักสูตร โดยใช้วิธี means-ends approach เป็นหลักการและเหตุผลในการสร้างหลักสูตรที่เรียกว่าเหตุผลของไทเลอร์ซึ่งหลักเกณฑ์ในการจัดหลักสูตรและการสอนนี้ เน้นการตอบคาถามที่เป็นพื้นฐาน 4 ประการ ดังนี้
(1) มีจุดมุ่งหมายทางการศึกษาอะไรบ้างที่สถาบันการศึกษาจะต้องกาหนดให้กับผู้เรียน
(2) มีประสบการณ์ทางการศึกษาอะไรบ้างที่สถาบันการศึกษาควรจัดขึ้นเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กาหนดไว้
(3) จะจัดประสบการณ์ทางการศึกษาอะไรบ้าง จึงจะทาให้การสอนมีประสิทธิภาพ
(4) จะประเมินผลประสิทธิภาพของประสบการณ์ในการศึกษาอย่างไรจึงจะตัดสินได้ว่าบรรลุถึงจุดมุ่งหมายที่กาหนดไว้

ไทเลอร์ เน้นว่า คาถามทั้ง 4 ข้อนี้ จะต้องถามเรียงลาดับกันลงมา เพราะฉะนั้นการตั้งจุดมุ่งหมาย จึงเป็นขั้นที่สาคัญที่สุด (ชมพันธุ์ กุญชร ณ อยุธยา. 2530 : 4) แนวความคิดในการพัฒนาหลักสูตรของไทเลอร์ เป็นไปตามลาดับขั้น ดังนี้
ขั้นที่ 1 การกาหนดจุดมุ่งหมายของหลักสูตร เริ่มด้วยการกาหนดจุดมุ่งหมายชั่วคราว โดยอาศัยข้อมูลจากแหล่งกาเนินที่จะเป็นพื้นฐานในการตัดสินใจ 3 แหล่ง ด้วยกัน คือ
1. ศึกษาจากสังคม
2. ศึกษาจากตัวผู้เรียน
3. ข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญในเนื้อหาวิชา

ข้อมูลที่ได้มาจากแหล่งทั้ง 3 ดังกล่าว จะเป็นเครื่องช่วยในการตั้งจุดมุ่งหมายชั่วคราว จุดมุ่งหมายที่ได้ในขั้นนี้ บางครั้งอาจจะมีมากเกินกว่าที่จะจัดไว้ในหลักสูตรได้ทั้งหมด จึงควรได้มีการพิจารณาเลือกเฉพาะจุดมุ่งหมายที่สาคัญและสอดคล้องกันเพื่อนาไปเป็นหลักในการปฏิบัติขั้นต่อไป ไทเลอร์ ได้เสนอว่า การเลือกจุดมุ่งหมายถาวร ควรผ่านการกลั่นกรอง เพื่อคัดเอาข้อที่ไม่สาคัญและไม่สอดคล้องกันออกไป ด้วยวิธีการ
1. พิจารณาหลักจิตวิทยาการเรียนรู้
2. พิจารณาจากหลักปรัชญาการศึกษาและปรัชญาสังคม

จุดมุ่งหมายที่ผ่านการกลั่นกรองแล้วนี้ เรียกว่า จุดมุ่งหมายขั้นสุดท้ายหรือจุดมุ่งหมายถาวร ที่จะนาไปใช้ในการพัฒนาหลักสูตรต่อไป
ขั้นที่ 2 การเลือกประสบการณ์การเรียน ในการวางโครงสร้างของหลักสูตร ไทเลอร์ ได้ตั้งคาถามข้อที่ 2 ว่า จะเลือกประสบการณ์การเรียนอย่างไร จึงจะช่วยให้บรรลุถึงจุดมุ่งหมายที่กาหดไว้ 24

จุดมุ่งหมายที่ระบุพฤติกรรมและเนื้อหานั้นเป็นจุดหมายปลายทางที่ต้องการไปถึง (Ends) แต่ประสบการณ์การเรียนที่จะจัดขึ้นเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ เป็นวิธีการที่จะให้บรรลุจุดหมายปลายทาง (Means)
ขั้นที่ 3 การจัดประสบการณ์การเรียน ในการจัดประสบการณ์ให้เป็นหน่วย จะต้องมีการสารวจความสัมพันธ์ ทางด้านเวลา และด้านเนื้อหา โดยมีเกณฑ์ในการจัดประสบการณ์การเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ ดังนี้
1. ความต่อเนื่องกัน
2. การเรียงลาดับขั้นตอน
3. การบูรณาการ

ขั้นที่ 4 การประเมินผล เป็นขั้นสุดท้ายของแนวคิดในการจัดหลักสูตรของไทเลอร์ เป็นขั้นที่จะให้ผู้วางแผนจัดทาหลักสูตรรวบประสบการณ์การเรียนที่จัดขั้น บรรลุตามจุดมุ่งหมายที่กาหนดไว้เพียงใด
2.รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรของทาบา
รูปแบบในการวางแผนหลักสูตรของทาบา (Taba. 1962)
รูปแบบในการวางแผนหลักสูตรของทาบา (Taba. 1962)


แนวคิดและรูปแบบการพัฒนาหลักสูตรของทาบา
ทาบา (Taba. 1962 : 422-425 ) ได้ให้แนวคิดในการจัดหลักสูตรโดยเอาสิ่งที่รู้จักในนามของวิธีการระดับล่าง เป็นหนทางไปสู่การพัฒนาหลักสูตร คือหลักสูตรควรจะออกแบบและกาหนดจากครูผู้สอนมากกว่าที่จะกาหนดลงไปโดยเจ้าหน้าที่ระดับสูง นอกจากนี้ ทาบามีความคิดว่า การพัฒนาหลักสูตรเป็นงานที่ต้องการ การจัดลาดับความคิดให้เป็นระเบียบในวิธีการที่จะทางานให้สาเร็จลุล่วงไป ทาบาได้กาหนดกระบวนการในการพัฒนาหลักสูตรไว้ ดังนี้
ขั้นที่ 1 วิเคราะห์สภาพปัญหา ความต้องการ และความจาเป็นต่างๆ ของสังคม รวมทั้งศึกษาพัฒนาการของผู้เรียน กระบวนการเรียนรู้ ตลอดจนธรรมชาติของความรู้เพื่อนามาเป็นแนวทางในการกาหนดจุดมุ่งหมาย
ขั้นที่ 2 กาหนดจุดมุ่งหมายของการศึกษา โดยอาศัยข้อมูลที่ได้จากขั้นที่ 1 เป็นหลักในการพิจารณา จุดมุ่งหมายที่กาหนดขึ้น ควรจะเป็นสิ่งที่สามารถนาไปปฏิบัติได้จริง และสามารถนาไปใช้เป็นแนวทางในการจัดเลือกเนื้อหาประสบการณ์การเรียน ความต้องการ เพื่อให้วัตถุประสงค์สอดคล้องกับสังคมและผู้เรียน
ขั้นที่ 3 การคัดเลือกเนื้อหาวิชาที่จะนามาใช้ในการเรียนการสอน โดยคานึงถึงความสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายที่กาหนดไว้เป็นสาคัญ
ขั้นที่ 4 การจัดลาดับเนื้อหาวิชาที่คัดเลือกมา โดยพิจารณาถึงความเหมาะสมในการที่จะให้ผู้เรียนได้รับความรู้ก่อนหรือหลัง ซึ่งอาจจัดลาดับความยากง่าย ความกว้างแคบหรือการเป็นพื้นฐานต่อกัน
ขั้นที่ 5 การคัดเลือกประสบการณ์การเรียน กระบวนการที่สาคัญของหลักสูตรอีกกระบวนการหนึ่งก็คือ กระบวนการในชั้นเรียน การคัดเลือกประสบการณ์การเรียนจาเป็นต้องศึกษาถึงกระบวนการเรียนรู้และวิธีการสอนแบบต่างๆ เพื่อนามาใช้เป็นแนวทางในการคัดเลือกประสบการณ์การเรียนที่มีคุณค่าแก่ผู้เรียน และสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายตลอดจนเนื้อหาวิชาที่กาหนดไว้ด้วย
ขั้นที่ 6 การจัดลาดับประสบการณ์การเรียน ตามลาดับก่อนหลัง เพื่อให้การจัดกระบวนการเรียนการสอนบรรลุตามจุดมุ่งหมายที่วางไว้
ขั้นที่ 7 การประเมินผล เป็นขั้นตอนที่จะเป็นเครื่องชี้ว่า การดาเนินการพัฒนาหลักสูตรประสบผลสาเร็จมากน้อยเพียงใด มีปัญหาหรือข้อบกพร่องในขั้นตอนใดๆ มากน้อยเพียงใด เพื่อจะได้ทาการปรับปรุงแก้ไขต่อไป การประเมินผลนี้ ตามปกติจะพิจารณาผลจาการใช้หลักสูตรคือ ผู้เรียนมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปตามจุดมุ่งหมายที่กาหนดไว้หรือไม่ เนื้อหาวิชาและกระบวนการเรียนการสอนมีความเหมาะสมเพียงใด 27

ขั้นที่ 8 ตรวจสอบความคงที่ และความเหมาะสมในแต่ละขั้น โดยการตั้งคาถามเพื่อตรวจสอบในลักษณะต่อไปนี้
1. เนื้อหาที่จัดขึ้นเกี่ยวข้องกับจุดมุ่งหมายหรือไม่
2. ประสบการณ์การเรียนช่วยให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ตามจุดมุ่งหมายหรือไม่
3. ประสบการณ์การเรียนที่จัดขึ้นมีความเหมาะสมเพียงใด

3 . รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรแบบครบวงจรของวิชัย วงษ์ใหญ่ (2525 : 16-17)

 แนวคิดรูปแบบในการพัฒนาหลักสูตรแบบครบวงจรของวิชัย วงษ์ใหญ่
วิชัย วงษ์ใหญ่ (2525 : 16-17) ได้เสนอรูปแบบการพัฒนาหลักสูตรแบบครบวงจร โดยแบ่งกระบวนการพัฒนาหลักสูตรไว้ 3 ระบบ คือ ระบบการร่างหลักสูตร ระบบการนาหลักสูตรไปใช้ และระบบการประเมินหลักสูตร ซึ่งทั้ง สามระบบจะต้องสัมพันธ์ต่อเนื่องกัน
1. ระบบการร่างหลักสูตร ได้แก่ สิ่งกาหนดหลักสูตร รูปแบบหลักสูตร กระตรวจสอบคุณภาพหลักสูตร และการปรับแก้หลักสูตรก่อนนาไปใช้
1.1 สิ่งกาหนดหลักสูตร คือ การเตรียมการศึกษาข้อมูลพื้นฐานที่จะนามาใช้สาหรับพัฒนาหลักสูตร ซึ่งได้แก่ สิ่งกาหนดทางวิธีการ สิ่งกาหนดทางสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ และสิ่งกาหนดทางการเมือง
1.2 รูปแบบหลักสูตร ได้แก่ โครงสร้างและองค์ประกอบหลักสูตร ซึ่งจะได้หลังจากศึกษาข้อมูลพื้นฐานจากสิ่งกาหนดหลักสูตร
1.3 การตรวจสอบคุณภาพหลักสูตร เป็นการศึกษาความเป็นไปได้ของหลักสูตร พร้อมทั้งปรับปรุงแก้ไขก่อนนาไปใช้จริง ซึ่งอาจทาได้โดยวิธีการประชุมสัมมนา การวิจัย เอกสาร การทดลองใช้ หลักสูตรนาร่อง
1.4 การปรับแก้หลักสูตรก่อนนาไปใช้ จะต้องจัดทาระบบข้อมูลที่ชัดเจน รวมทั้งการสังเคราะห์ข้อมูลอย่างรอบคอบ
2. ระบบการใช้หลักสูตร ได้แก่ การขออนุมัติหลักสูตร แล้วจึงจะรับสมัครผู้ที่จะศึกษาและดาเนินการเรียนการสอนได้
2.1 การขออนุมัติหลักสูตร เมื่อได้รับอนุมัติแล้วจึงจะรับสมัครผู้ที่จะศึกษาและดาเนินการเรียนการสอนได้
2.2 การวางแผนการใช้หลักสูตร จะกระทาควบคู่ไปกับการขออนุมัติหลักสูตร เมื่อหลักสูตรได้รับการอนุมัติเรียบร้อยแล้ว จึงดาเนินการใช้หลักสูตรได้
2.3 การดาเนินการใช้หลักสูตร เริ่มตั้งแต่การประชาสัมพันธ์ การเตรียมความพร้อมของบุคลากร งบประมาณ การออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนไปจนถึง การจัดตารางสอน
3. ระบบการประเมินหลักสูตร ได้แก่ การวางแผน การประเมินหลักสูตร แผนการเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ ข้อมูล และการเขียนรายงาน
3.1 การวางแผนการประเมินหลักสูตรเป็นการวางแผนว่าจะประเมินหลักสูตรในส่วนใดบ้าง เช่น ประเมินเอกสารหลักสูตร การประเมินย่อยๆแต่ละระบบ เช่น ระบบการเรียนการสอน ผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน หรือจะประเมินหลักสูตรทั้งระบบ
3.2 แผนการเก็บรวบรวม ได้แก่ การรวบรวมข้อมูล การจัดข้อมูลเป็นหมวดหมู่ และการวิเคราะห์ข้อมูลตามเกณฑ์ที่กาหนด


3.3 การวิเคราะห์ข้อมูล ควรกาหนดว่ามีข้อมูลอะไรบ้างที่สาคัญในการจัดสินใจ การจัดทาระบบข้อมูลจะช่วยจาแนกเป็นหมวดหมู่ และการสังเคราะห์ข้อมูลได้ตามเกณฑ์ที่กาหนดว้า
3.4 การรายงานข้อมูล การจัดทารายงานและการเสนอข้อมูล จะช่วยในการพิจารณาว่าหลักสูตรนี้มีคุณค่าตรงตามวัตถุประสงค์หรือว่าจะปรับปรุงแก้ไขระบบการพัฒนาหลักสูตรแบบครบวงจรของ วิชัย วงษ์ใหญ่

การพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรม
หลักสูตรฝึกอบรม
ได้มีนักวิชาการได้ให้ความหมาย หลักสูตรฝึกอบรม ซึ่งพอประมาณความหมายที่สาคัญ ได้ดังนี้
เครือวัลย์ ลิ่มอภิชาติ (2531 : 60) ได้ให้ความหมายของหลักสูตรการฝึกอบรมว่า หมายถึงโครงการฝึกอบรม ซึ่งประมวลความรู้และประสบการณ์ที่องค์การการฝึกอบรมจัดให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมทั้งภายในและภายนอกเพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้พัฒนาตามวัตถุประสงค์ของโครงการที่กาหนดไว้
วิจิตร อาวะกุล (2537 : 33-34) ได้ให้ความหมายของหลักสูตรการฝึกอบรมว่า หมายถึงการจัดหลักสูตรเฉพาะวิชา ที่จาเป็นมีส่วนสัมพันธ์เกี่ยวข้องหรือเป็นพื้นฐานของวิชาอื่น เป็นวิชาที่ถือว่าเป็นแก่นสาร สาระ มิใช่วิชาเพื่อความบันเทิงสนุกสนานไม่ได้สาระ ดังนั้น การจัดหลักสูตรให้สามารถเปลี่ยนแปลงได้พฤติกรรมเชิงถาวรในการทางานได้ จึงควรพิจารณาดังนี้ 1) เป็นวิชาที่จะตอบสนองหรือแก้ปัญหาของวัตถุประสงค์ของการฝึกอบรม แก้ปัญหาของหน่วยงาน มิใช่วิชาเข้มบันเทิงแต่เข้มวิชา 2) วิชาในหลักสูตรต้องกาหนดวัตถุประสงค์เป็นลายลักษณ์อักษร มีรายละเอียดหรือสาระสาคัญของวิชา (Course Description) ขึ้นไว้ให้เพื่อการดาเนินการ การสอนของวิทยากรตรงตามวัตถุประสงค์ ความต้องการของผู้จัดการฝึกอบรม 3) ระยะเวลาที่เหมาะสมแก่ความจาเป็น เวลาที่อานวยให้ของผู้เข้ารับการอบรม เวลาที่เหมาะสม ช่องว่าง หรือช่วงที่มีงานน้อยของหน่วยงาน ฯลฯ เป็นต้น
นักรับ ระวังการณ์ (2539 : 4, อ้างถึงใน มาเรียม นิลพันธุ์ และคีรีบูน จงวุฒิเวศย์ 2543 : 13 ) ได้ให้ความหมายของหลักสูตรการฝึกอบรม ว่า เป็นกระบวนการหนึ่งของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งมีขอบข่ายตั้งแต่ การวางแผ่น การจัดทาโครงการ การจัดกิจกรรมต่างๆ ให้บุคลากรในองค์การ เพื่อให้บุคคลเหล่านั้นมีความรู้ ความเข้าใจ เกิดทักษะและประสบการณ์ตลอดจนมีการปรับเปลี่ยนทัศนคติและพฤติกรรมในการทางาน ให้บรรลุตามเป้าประสงค์ ขององค์การอย่างมีประสิทธิภาพ
สรุปความหมายของการพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมได้ว่า เป็นมวลความรู้ และประสบการณ์ที่องค์กรจัดขึ้น เพื่อพัฒนาองค์กรด้วยแนวทางที่เป็นขั้นตอนในอันที่จะสามารถปรับแนวคิดและเจตคติเพื่อให้เกิดการปรับปรุง และนาความรู้ที่ได้เป็นแนวทางการทางานให้เกิดประสิทธิภาพ 30

ขั้นตอนการสร้างและพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม
เครือวัลย์ ลิ่มอภิชาติ (2531 : 60) ได้เสนอเป็นแผนภูมิกระบวนการการพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมที่เชื่อมโยงกัน ดังแผนภูมิ
แผนภูมิ แสดงกระบวนการพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรม
ที่มา : เครือวัลย์ ลิ่มอภิชาติ, ทักษะและเทคนิคการจัดฝึกอบรมและการพัฒนา (ภูเก็ต : โรงพิมพ์สยามศิลป์การพิมพ์, 2531), 69.
วิเชียร ชิวพิมาย (2528 : 7-15) ได้เสนอขั้นตอนในการสร้างและพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมไว้เป็น 4 ขั้นตอน ดังนี้ 1) การวิเคราะห์หาความจาเป็นในการฝึกอบรม เป็นการศึกษาปัญหาของหน่วยงานที่จะต้องได้รับการปรับปรุง หรือเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจให้กับบุคคลด้วยวิธีการฝึกอบรมในการวิเคราะห์หาความจาเป็นนี้ จะต้องวิเคราะห์อย่างรอบคอบและครอบคลุม กล่าวคือ จะต้องพิจารณาถึงสภาพปัจจุบันที่มีปัญหาที่เกิดขึ้น และคาดการณ์อนาคตได้อย่างถูกต้องใกล้เคียง เพื่อจะได้วางแผนการฝึกอบรมได้อย่างเหมาะสม วิธีการที่ใช้สาหรับหาความจาเป็นในการฝึกอบรมมีหลายวิธี เช่น วิธีสังเกต วิธีวิเคราะห์ วิธีประเมินผลการปฏิบัติงาน การสารวจความต้องการเป็นต้น 2) กาหนดวัตถุประสงค์ในการฝึกอบรม เป็นขั้นตอนที่ชี้ให้เห็นถึงเป้าหมายและความต้องการของการฝึกอบรม ว่าต้องการแก้ปัญหาใดหรือให้อะไรเกิดขึ้นในหน่วยงาน การฝึกอบรมส่วนมากจะมุ่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม 3 ด้าน คือ ความรู้ ความคิด เจตคติ และทักษะ เป็นต้น การตั้งวัตถุประสงค์จึงควรตั้งในลักษณะการคาดหวังให้เกิดการเปลี่ยนแปลงคุณลักษณะของบุคลากร 3 ด้าน ดังกล่าว 3) การเลือกเนื้อหาในการฝึกอบรม เป็นขั้นตอนสาคัญ เพราะเนื้อหาเสมือนเครื่องมือจะเข้าไปดาเนินการแก้ปัญหาให้กับหน่วยงาน การเลือกเนื้อหามีหลักเกณฑ์ ดังนี้ 3.1) สอดคล้องกับความต้องการและความจาเป็นในการแก้ปัญหา หรือการพัฒนาบุคลากรของหน่วยงาน 3.2) ทันสมัย ทันต่อเหตุการณ์ น่าสนใจและจูงใจผู้เข้ารับการฝึกอบรม 3.3) เหมาะสมกับระดับผู้เข้ารับการฝึกอบรม ไม่ยากเกินไป 3.4) ผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถนาไปใช้ได้จริงในการทางาน และในชีวิตประจาวัน 3.5) มีคุณค่าในตัวเอง เหมาะสมกับความจา การเกิดเจตคติและการฝึกทักษะในเนื้อหานั้นๆ 3.6) ต้องนาเสนออย่างชัดเจน ไม่ก่อให้เกิดความยุ่งยากในการนาเสนอ 3.7) สามารถประเมินผลได้อย่างถูกต้อง 4) กาหนดกิจกรรมและการเลือกสื่อในการฝึกอบรม กิจกรรมและสื่อในการฝึกอบรมเป็นตัวกลางสาคัญที่จะถ่ายทอดเชื่อมโยง ความรู้ ทักษะ เจตคติ ให้กับผู้เข้ารับการฝึกอบรม เกณฑ์ในการกาหนดกิจกรรมและการเลือกสื่อ มีดังนี้ 4.1) ต้องสามารถถ่ายทอดเนื้อหาวิชาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ก่อให้เกิดความผิดพลาดเกี่ยวกับเนื้อหาวิชาและความคิดรวบยอดแก่ผู้เข้ารับการฝึกอบรม 4.2) ต้องเหมาะสมกับสถานการณ์ เพศ วัย และระดับความรู้ของผู้เข้ารับการฝึกอบรม 4.3) ต้องมีคุณค่าทางเทคนิค ชัดเจน และถูกต้อง 4.4) ต้องเหมาะสมกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ ไม่แพงจนเกินไป คุ้มค่า การลงทุน
อาดัมส์ (Adams 1972 : 34-37) ได้เสนอกระบวนการพัฒนาหลักสูตรการฝึกอาชีพ 17 ขั้นตอน ดังนี้
1. ค้นหาและสารวจความต้องการ (Detect and Explore need)
2. พัฒนาแผนภูมิทักษะ (Develop DACUM Chart)
3. เลือกและปฐมนิเทศผู้สอน (Select and Orient Instruction)
4. กาหนดกิจกรรมการเรียนรู้ (Define Learning Activity)
5. เลือกและกาหนดตัวผู้เข้ารับอบรม (Select and Place Trainee)
6. เลือกสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ (Select Learning Environment)
7. เลือกและจัดอุปกรณ์ เครื่องมือ และวัสดุต่างๆ (Select and Order Equipment, Tools and Supplies)
8. ติดตั้งอุปกรณ์ เครื่องมือ และวัสดุต่างๆ (install Equipment, Tools, and Supplies)
9. กาหนดและมอบหมายให้บุคลากรที่รับผิดชอบ (locate and Assign Human Resource)
10. จัดชุดกิจกรรมการเรียนรู้เฉพาะบุคคล (Organize Individual Learning Activity Batteries)
11. เลือกวัสดุสิ่งพิมพ์ (Select printed Materials)
12. พัฒนาวัสดุสิ่งพิมพ์ (Develop Printed Materials)
13. เลือกโสตทัศน์อุปกรณ์ (Select Audio-Visual Materials)
14. พัฒนาโสตทัศน์อุปกรณ์ (Develop Audio-Visual Materials)
15. เลือกและติดตั้งอุปกรณ์การเรียนรู้ (Select and Install Learning Equipment )
16. การประเมินความบกพร่องของสัมฤทธิ์ผล (Assess Lack of Achievement)
17. ประเมินทรัพยากรและวัสดุอุปกรณ์ต่างๆที่ใช้ (Evaluate Resources and Materials)

ไทเลอร์ (Tylor 1950 : 11) เขาได้เสนอคาถาม 4 ประการ ที่จะเป็นแนวทางชี้นาไปสู่ขั้นตอนการสร้างพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมเรียกว่า เหตุผลของไทเลอร์ (Tylor’s Rationale) ซึ่งสามารถมาใช้เป็นเกณฑ์ในการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมได้ ดังนี้
1. มีจุดมุ่งหมายทางการศึกษาอะไรบ้างที่สถานการศึกษาจะต้องกาหนดให้ผู้เรียน
2. ประสบการณ์ทางการศึกษาอะไรบ้างที่สถาบันการศึกษาควรจัดขึ้นเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ที่กาหนดไว้
3. จะจัดประสบการณ์ทางการศึกษาอย่างไรให้มีประสิทธิภาพ
4. จะพิจารณาได้อย่างใดว่าวัตถุประสงค์ที่กาหนดไว้บรรลุผลแล้ว

จากแนวคิดในการพัฒนาหลักสูตรของไทเลอร์นั้น ชมพันธ์ กุญชร ณ อยุธยา (2530 : 4-31) ได้อธิบายรายละเอียดเพิ่มเติม ดังนี้
1. จุดมุ่งหมายทางการศึกษากาหนดขึ้นเพื่อเป็นเกณฑ์ในการเลือกสื่อการเรียนการสอนเนื้อหาวิชา วิธีการสอน และการเตรียมข้อทดสอบ การกาหนดจุดมุ่งหมายทางการศึกษา การกาหนดจากแหล่งกาเนิดที่เป็นพื้นฐาน 3 แหล่ง คือ
1.1 ข้อมูลจากการศึกษาตัวผู้เรียน
1.2 ข้อมูลจากการศึกษาสังคมภายนอกสถาบันการศึกษา
32


1.3 ข้อเสนอแนะของนักวิชาการ

นอกจากแหล่งกาเนิดของจุดมุ่งหมายทางการศึกษาทั้ง 3 แหล่งดังกล่าว แล้ว การเขียนจุดมุ่งหมายทางการศึกษา ยังต้องผ่านการกลั่นกรองให้เหลือข้อมูลที่มีความสาคัญและสามารถปฏิบัติได้จริง โดยมีการกลั่นกรอง 2 ขั้นตอน คือ การกลั่นกรองครั้งที่ 1 พิจารณาจากปรัชญาสังคมและปรัชญาทางการศึกษา การกลั่นกรอง ครั้งที่ 2 คือ การกลั่นกรองพิจารณาจากหลักจิตวิทยาการเรียนรู้
2. การเลือกประสบการณ์การเรียน เป็นการกาหนดประสบการณ์การเรียนเพื่อให้เกิดการเรียนรู้เป็นวิธีการที่จะทาให้บรรลุตามวัตถุประสงค์จุดมุ่งหมายทางการศึกษาที่ตั้งไว้
3. การจัดประสบการณ์การเรียน เป็นการจัดประสบการณ์ที่เลือกไว้ให้เป็นหน่วยรายวิชาหรือรายการ โดยคานึงถึงความสัมพันธ์ด้านเวลา เนื้อหาวิชา
4. การประเมินผล เป็นการตรวจสอบว่าการจัดประสบการณ์การเรียนการสอนได้บรรลุตามจุดมุ่งหมายทางการศึกษาหรือไม่

ในขั้นตอนของการพัฒนาผู้นาเสนอการพัฒนาหลักสูตรได้ศึกษาในรายละเอียดที่จะทาให้เกิดความเข้าใจมากขึ้นดังต่อไปนี้
1. การศึกษาข้อมูลพื้นฐานสาหรับการสร้างหลักสูตร มีการสารวจข้อมูลพื้นฐานดังที่ บีน โทปเฟอร์ และเอสซี (Beane, Toepfer and Alessi 1986 : 73-111) ได้กล่าวถึงพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตรที่เป็นหลักสาคัญมี 3 ด้าน
1.1 พื้นฐานด้านปรัชญา เป็นข้อมูลที่เกี่ยวกับข้อมูลธรรมชาติ ความหมายของชีวิตและค่านิยมจะเป็นตัวกาหนดจุดมุ่งหมายของหลักสูตร
1.2 พื้นฐานทางสังคมวิทยา เป็นข้อมูลเกี่ยวกับสภาพสังคมในอดีต ปัจจุบันและอนาคต มีความสาคัญต่อการกาหนดจุดมุ่งหมายและเนื้อหาวิชาให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะสอดคล้องกับสังคม
1.3 พื้นฐานทางจิตวิทยา เป็นข้อมูลเกี่ยวกับความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ เจตคติ พฤติกรรมที่จะทาให้เข้าใจคุณลักษณะของผู้เรียน ที่นักพัฒนาหลักสูตรต้องเกี่ยวข้องด้วย ทาบา (Taba 1962 : 16) ได้กล่าวถึงพื้นฐานที่สาคัญในการพัฒนาหลักสูตร ได้แก่ พื้นฐานความคิดรวบยอดเกี่ยวกับหน้าที่ของสถาบันอุดมศึกษา การวิเคราะห์สังคม การวิเคราะห์วัฒนธรรม ทฤษฎีการเรียนรู้ ความคิดรวบยอดเกี่ยวกับการพัฒนา การถ่ายโยงความรู้ การเรียนรู้สังคมและวัฒนธรรม ส่วนประกอบของการเรียน และภาพสาระของการเรียนรู้ ส่วนวิชัย วงษ์ใหญ่ (2533 : 1) ได้สรุปประเด็นสาคัญไว้ว่า พื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตรที่จาเป็นมีอยู่ 3 ประการเรียกว่า สิ่งกาหนดหลักสูตร ได้แก่สิ่งกาหนดทางวิชาการ สิ่งกาหนดทางสังคม วัฒนธรรม และเศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมทางการเมือง สาหรับหลักสูตรการฝึกอบรมนั้น ก่อนจะสร้างหลักสูตรต้องมีการวิเคราะห์ความต้องการขององค์กร งานที่ปฏิบัติ และความต้องการของผู้เข้ารับการฝึกอบรมก่อน ว่ามีปัญหาข้อขัดข้อง ที่เป็นอุปสรรคที่ต้องแก้ไขด้วยการฝึกอบรม เพื่อให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพสูง และบรรลุวัตถุประสงค์ ขององค์การ และเป็นปัญหาที่แท้จริงและเป็นปัญหาที่สามารถแก้ไขได้ด้วยการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาตัวบุคคลอันจะนาไปสู่การพัฒนาองค์การ

วิธีการที่จะได้ข้อมูลพื้นฐานมานั้น บอยเดล (Botdell 1979 : 5-8) ได้เสนอไว้คือการเก็บข้อมูลจากากรบันทึกการสัมภาษณ์ การใช้แบบสอบถามและการสังเกต ซึ่งสอดคล้องกับ อัญชนา เวสารัชช์ (2526 : 6) และวิเชียร ชิวพิมาย (2528 : 8-10) ที่เสนอไว้ คือ การใช้แบบสอบถามการสัมภาษณ์ การประชุม การวิจัย การสังเกต การบันทึก การประเมิน ผลการปฏิบัติงานและการสารวจ ความต้องการ
2. การร่างหลักสูตร องค์ประกอบของหลักสูตร ตั้งแต่วัตถุประสงค์ ขอบเขต เนื้อหาวิชา กิจกรรมการเรียน และการประเมินผล โดยมีรายละเอียดในแต่ละส่วน ดังนี้
33


2.1 วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

ทาบา (Taba 1962 : 267-284) ได้แบ่งวัตถุประสงค์ของหลักสูตรออกเป็น 2 ประเภท คือ วัตถุประสงค์ทั่วไปและวัตถุประสงค์เฉพาะวิชา ในส่วนของวัตถุประสงค์ทั่วไปของหลักสูตรแบ่งออกเป็น 4 ระดับ คือ วัตถุประสงค์เกี่ยวกับความรู้ วัตถุประสงค์เกี่ยวกับความคิด วัตถุประสงค์เกี่ยวกับเจตคติ และ วัตถุประสงค์เกี่ยวกับทักษะ ในส่วนของวัตถุประสงค์เฉพาะขึ้นอยู่กับเนื้อหาและเวลา
บลูม คราธโวห์ล และมาเชีย (Bloom, Krathwohl and Massia 1979 : 90) ได้แบ่งออกเป็น 3 มิติใหญ่ ๆคือ วัตถุประสงค์ด้านพุทธพิสัย (Cognitive Domain) วัตถุประสงค์ด้านจิตพิสัย (Affevtive Domain) และวัตถุประสงค์ด้านทักษะพิสัย (Phychomotor Domain) โดยวัตถุประสงค์แต่ละด้านยังแบ่งออกเป็นระดับต่างๆ เช่น วัตถุประสงค์ด้านพุทธิพิสัย เป็นวัตถุประสงค์ที่รวมถึงการเรียนรู้ทางด้านความรู้ ความคิดและการแก้ปัญหาแบ่งออกเป็น 6 ขั้น จากขั้นต่าไปสู่ขั้นสูง ดังนี้ ความจา ความเข้าใจ การนาไปใช้ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ และการประเมินผล วัตถุประสงค์ด้านจิตพิสัย เป็นวัตถุประสงค์ที่รวมถึงการเรียนรู้ทางด้านทัศนคติ ค่านิยม ความสนใจ และความซาบซึ้ง วัตถุประสงค์ทางด้านทักษะพิสัย เป็นวัตถุประสงค์ที่รวมถึงการเรียนรู้ทางด้านทักษะพิสัย ในการเคลื่อนไหวและการใช้อวัยวะของร่างกายเป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในด้านการกระทา
การแบ่งวัตถุประสงค์ออกเป็นมิติดังกล่าว เพื่อเป็นการจาแนกคุณลักษณะออกเป็นด้านๆ มีประโยชน์ต่อการพัฒนาการฝึกอบรมคือช่วยขจัดความคลุมเครือในการใช้คาถามเพื่อกาหนดวัตถุประสงค์ ช่วยให้ผู้พัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมและวิทยากรรู้ว่าการกาหนดวัตถุประสงค์เกี่ยวกับพฤติกรรมใดก่อนหรือหลัง จัดลาดับเนื้อหาเกี่ยวโยงและจากง่ายไปยาก ช่วยให้เกิดความสมดุลในการกาหนดวัตถุประสงค์ของการฝึกอบรม และช่วยในการประเมินผลการฝึกอบรม
2.2 การเลือกเนื้อหา

ทาบา (Taba 1962 : 267-284) กล่าวถึงการพิจารณาเลือกเนื้อหาวิชาว่าจะต้องให้ตรงกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ โดยมีเกณฑ์ในการเลือกเนื้อหาวิชาดังนี้ 1) ความเชื่อถือได้และความสาคัญของเนื้อหา 2) สอดคล้องกับความเป็นจริงในสังคม 3) มีความสมดุลในความกว้างและลึก 4) ตอบสนองความต้องการของวัตถุประสงค์ได้หลายๆ ข้อ 5) สอดคล้องกับประสบการณ์ของผู้เรียน 6) สอดคล้องกับความต้องการและความสนใจของผู้เรียน
สมิธ สแตนเลย์ และชอร์ส ( Smith, Stanley and Shores 1957 : 132) ได้กาหนดหลักเกณฑ์การพิจารเลือกเนื้อหาวิชาในหลักสูตรที่พัฒนาขึ้น ดังนี้ 1) เป็นแก่นสารของความรู้ในศาสตร์นั้นๆ หรือไม่ 2) มีคุณค่าแก่การเรียนรู้และถ่ายทอดต่อไปหรือไม่ 3) มีประโยชน์หรือไม่ 4) เป็นที่น่าสนใจแก่ผู้เรียนหรือไม่ 5) ส่งเสริมพัฒนากรทางสังคม ประชาธิปไตยหรือไม่
เครือวัลย์ ลิ่มอภิชาติ (2531 : 67-68) ได้ให้หลักเกณฑ์ในการเลือกวิชาสาหรับการฝึกอบรม ดังนี้ 1) เนื้อหาต้องสอดคล้องกับความจาเป็นในการฝึกอบรม 2) เนื้อหาต้องเชื่อถือได้และเป็นแก่นสาร ของความรู้ในแต่ละสาขาวิชามีความทันสมัย และถูกต้อง 3) เนื้อหา ต้องสอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงในการทางาน 4) เนื้อหาวิชาที่นามาบรรจุในหลักสูตร ต้องมีความสมดุลกับการใช้ข้อมูล กระบวนการ และความคิดเกี่ยวกับเรื่องนั้นเพียงพอที่จะให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมพัฒนาและเกิดความเข้าใจถึงหลักการและความคิดรวบยอดได้อย่างลึกซึ้ง 5) เนื้อหาวิชาต้องสอดคล้องวัตถุประสงค์ 6) เนื้อหาวิชาต้องสอดคล้องกับวุฒิภาวะในการเรียนรู้ ประสบการณ์ของผู้เข้ารับการอบรม 7) เนื้อหาวิชาต้องสอดคล้องกับความต้องการและความสนใจของผู้เข้ารับการฝึกอบรม 34


2.3 กิจกรรมการเรียน

ชมพันธ์ กุญชร ณ อยุธยา (2530 : 14-15) ได้เสนอหลักเกณฑ์ในการเลือกกิจกรรมหรือประสบการณ์การเรียน ไว้ดังนี้ 1) กิจกรรมการเรียนจะต้องสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายทางการศึกษาแต่ละข้อ 2) กิจกรรมการเรียนจะต้องเป็นที่พึงใจของผู้เรียน 3) กิจกรรมการเรียนจะต้องอยู่ในขอบข่ายความสามารถของผู้เรียน เหมาะสมกับความรู้ สภาพร่างกายของผู้เรียน 4) กิจกรรมการเรียนหลายอย่าง อาจนามาใช้เพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายเพียงข้อเดียว 5) กิจกรรมการเรียนเพียงชนิดเดียวอาจนาไปสู่การบรรลุเป้าหมายหลายข้อก็ได้
2.4 การประเมินผล

ชมพันธ์ กุญชร ณ อยุธยา (2530 : 34) กล่าวถึง การประเมินผลว่า เป็นกระบวนการที่ชี้ให้เห็นถึงการบรรลุจุดมุ่งหมายของการศึกษา ที่ระบุไว้ในหลักสูตรและการสอน การประเมินมีส่วนสาคัญ 2 ประการ คือ 1) การประเมินผลจะต้องวัดพฤติกรรมของผู้เรียน เพราะการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเป็นจุดมุ่งหมายของการศึกษา 2) การประเมินผลจาเป็นต้องประเมินมากกว่า 1 ครั้ง เพื่อดูความเปลี่ยนแปลง
อัญชนา เวสารัชช์ (2526 : 42-43) กล่าวถึงการประเมินผลกแบบการค้นพบว่า เป็นความพยายามค้นหาว่าสิ่งที่คาดหลังจาการฝึกอบรมเกิดขึ้นหรือไม่ จากข้อมูลที่หาได้ เช่น การใช้แบบสอบถาม การสังเกต การสัมภาษณ์ การใช้แบบทดสอบ การประเมินผลตนเอง การดูผลงาน และการใช้ประเมินเพื่อจะดูประสิทธิภาพของการฝึกอบรม และการพัฒนาที่มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ การปฏิบัติงาน องค์การ ผลผลิต ปฏิกิริยาของผู้เข้ารับการฝึกอบรม
3. การตรวจสอบคุณภาพหลักสูตร หลังจากร่างหลักสูตรเรียบร้อยแล้ว ควรที่จะได้รับการตรวจสอบและประเมินผลก่อนนาไปใช้ เพื่อจะได้ทราบข้อบกพร่อง และการปรับปรุงแก้ไข การตรวจสอบคุณภาพหลักสูตรนี้ มีหลายวิธีการ
สงัด อุทรานันท์ (2528 : 246) ได้เสนอไว้ ดังนี้ 1) การตรวจสอบเอกสารหลักสูตร แบ่งออกเป็น 2 ประการ คือ 1.1) การตรวจสอบเอกสารหลักสูตรโดยนักพัฒนาหลักสูตร ซึ่งเป็นผู้ร่างหลักสูตร เป็นการศึกษา วิเคราะห์ ตรวจสอบอย่างละเอียด ภายหลังการเขียนหลักสูตรเสร็จสิ้นแล้ 1.2) การตรวจสอบเอกสารโดยผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ ความสามารถ เกี่ยวกับหลักสูตร โดยอาจใช้การแสดงความคิดเห็นตามปกติหรือใช้เทคนิคเดลฟาย (Delphi Technique) เข้าร่วมด้วย 2) การทดสอบโดยใช้หลักสูตรกับกลุ่มตัวอย่าง อาจเป็นลักษณะโครงการนาร่องเพื่อศึกษาข้อบกพร่องหลักสูตร ความเหมาะสมเมื่อใช้กลุ่มตัวอย่างจริง 3) การวิเคราะห์ หลักสูตรโดยใช้เทคนิคปุยซอง (Puisance Analysis) ซึ่งเป็นเทคนิควิเคราะห์คุณค่าของหลักสูตรที่ร่างขึ้น โดยพิจารณาหลักสูตรที่ร่างขึ้นแล้ว โดยพิจารณาว่าองค์ประกอบของหลักสูตรทั้ง 3 ส่วน คือจุดมุ่งหมาย กิจกรรมการเรียนการอสนและการประเมินผลมีคุณค่าเพียงใด
4. ทดลองใช้หลักสูตร หลังจากการตรวจสอบคุณภาพของโครงสร้างหลักสูตรแล้วนาไปทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง โดยมีองค์ประกอบในการดาเนินการทดลองใช้หลักสูตร ดังนี้ 1) วัตถุประสงค์ของการทดลองหลักสูตร 2) รูปแบบการทดลองใช้หลักสูตร 3) ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลอง 4) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองใช้หลักสูตร
5. การประเมินหลักสูตร หลังจากการทดลองใช้หลักสูตรแล้ว การทาการประเมินหลักสูตรโดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) ประเมินผลการใช้หลักสูตร ว่ามีความเหมาะสมกับผู้เข้ารับการฝึกอบรม หรือมีปัญหาอุปสรรคใดๆ ในการใช้หลักสูตรหรือไม่โดยทาการประเมินด้านต่างๆ ดังนี้ 1.1) ประเมินความเหมาะสมของเนื้อหา วิธีการอบรม และการประเมินผลผู้เข้าอบรม 1.2) ประเมินปัญหาและอุปสรรคในการใช้หลักสูตรและ
35


ปัจจัยที่ส่งเสริมการใช้หลักสูตร 2) ประเมินว่าเมื่อได้ทาการทดลองใช้หลักสูตรแล้ว ผู้รับการอบรมและพัฒนามีความรู้เพิ่มเติมขึ้นหรือไม่อย่างไร
6. การปรับปรุงแก้ไขหลักสูตร

วิชัย วงษ์ใหญ่ (2533 : 9) ได้กล่าวถึงการปรับปรุงแก้ไขหลักสูตรไว้ว่า ควรจัดระบุข้อมูลที่ชัดเจน เพื่อให้การปรับปรุงเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและควรพิจารณาให้รอบคอบ ว่าทาการปรับปรุงแล้วจะกระทบหลักการ จุดมุ่งหมายและโครงสร้างของหลักสูตรหรือไม่
จากความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรที่กล่าวมาแล้วนั้น พอจะสรุปประเด็นสาคัญเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมที่ผู้วิจัยจะดาเนินการดังนี้
1. ส่วนประกอบของหลักสูตรซึ่งเหมาะสมกับสภาพการฝึกอบรม และมีความสอดคล้องกับแนวคิดของนักพัฒนาหลักสูตร ควรประกอบด้วยส่วนสาคัญ ดังนี้ 1) ปัญหาและความจาเป็นในการฝึกอบรม 2) จุดมุ่งหมายของหลักสูตร 3) หัวข้อวิชาการฝึกอบรม ซึ่งแต่ละหัวข้อวิชา ประกอบด้วยส่วนต่างๆ คือ 3.1) จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม 3.2)เนื้อหาการฝึกอบรม 3.3) กิจกรรมและวิธีการฝึกอบรม 3.4) วิธีการประเมินผล
2. ขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตรประกอบด้วยขั้นตอนสาคัญ 4 ขั้นตอน ดังนี้ 1) การวิจัย (Research) 2) การพัฒนา Development 3) การวิจัย Research 4) การพัฒนา (Development)

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
การพัฒนาหลักสูตร ฝึกอบรม
การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมในประเทศไทยมีผู้พัฒนาขึ้นมาโดยอาศัยขั้นตอนการวิจัยและพัฒนา (Research and Development ) ซึ่งมีรูปแบบคล้ายคลึงกัน ดังนี้
มาเรียม นิลพันธ์ (2536) ทาการพัฒนาหลักสูตรวิจัยวัฒนธรรมสาหรับข้าราชการ สังกัดคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ด้วยกระบวนการพัฒนาหลักสูตร 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การวิจัย เป็นการสารวจข้อมูลพื้นฐาน สาหรับสร้างหลักสูตร 2) การพัฒนา เป็นขั้นการสร้างและพัฒนาหลักสูตร 3) การวิจัย เป็นการทดลองใช้หลักสูตร 4) การพัฒนา เป็นการประเมินผลหลักสูตร ผลการวิจัยพบว่า ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้ และควรมีการเพิ่มเติมเนื้อหาของหลักสูตร และควรมีการอบรมหลักสูตรภาคทฤษฎีนอกสานักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ควรเพิ่มระยะเวลาในการในการเก็บข้อมูลภาคสนามให้มากกว่าเดิม สาหรับปัญหาและอุปสรรคในการอบรม คือช่วงเวลายังไม่เหมาสมและต้องมีการปรับปรุงการนาเสนอข้อมูลการใช้ภาษาไทยในการเขียนรายงาน
กาธร ไพจิตต์(2542 : บทคัดย่อ) ได้พัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเรื่องการส่งเสริมการไม่สูบบุหรี่ สาหรบอาสาสมัครสาธารณสุขประจาหมู่บ้าน เขตเทศบาลจังหวัดสุพรรณบุรี โดยมีขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตร 4 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐาน 2) พัฒนาหลักสูตร 3) ทดลองใช้หลักสูตร และ 4) ประเมินผลหลักสูตร ผลการวิจัยพบว่า ขั้นที่ 1 ผลที่ได้จากการสารวจข้อมูลพื้นฐานพบว่า ชุมชนมีปัญหาจากการสูบบุหรี่ และอาสาสาธารณสุขประจาหมู่บ้าน ต้องการให้มีการอบรมเรื่องการส่งเสริมการไม่สูบบุหรี่ โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับสารพิษในควันบุหรี่ ผลกระทบของบุหรี่ต่อสุขภาพ สังคม สิ่งแวดล้อม กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับบุหรี่ เทคนิคและแนวทางในการเผยแพร่ความรู้ ในขั้นที่ 2 พบว่า หลักสูตรภาคทฤษฎีที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วยเรื่อง กลุ่มสัมพันธ์ และผลกระทบของบุหรี่ที่มีต่อสังคม สิ่งแวดล้อม สุขภาพ มนุษยสัมพันธ์ สารพิษในบุหรี่ พระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ และพระราชบัญญัติคุ้มครองสุขภาพผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.. 2535 เทคนิคการสร้างแรงจูงใจ แนวทางการแก้ไขปัญหาบุหรี่ในชุมชน และในภาคสนาม เป็นการเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับบุหรี่ในชุมชน ขั้นที่ 3 ทดลองใช้กับอาสาสมัครสาธารณสุขชุมชนประจาหมู่บ้านจานวน 33 คน ในเขตเทศบาลเมืองสุพรรณบุรี เป็นเวลา 5 วัน และขั้นที่ 4 ผลการประเมินหลักสูตร พบว่า หลักสูตรที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมที่จะนาไปใช้ โดยผู้เข้ารับการอบรมมีความสนใจการอบรมดี อาสาสมัครสาธารณสุขชุมชนประจาหมู่บ้านที่เข้ารับการอบรมมีความรู้เพิ่มขึ้น
สุเมตรา ปลาตะเพียนทอง (2543 : บทคัดย่อ) ได้ทาการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา สาหรับครูสังกัดสานักงานการประถมศึกษา ในจังหวัดนครปฐม โดยมีขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตร 4 ขั้นตอน ดังนี้ 1) การศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการในการฝึกอบรม 2) ยกร่างหลักสูตร 3) การประเมินหลักสูตร 4) การปรับปรุงหลักสูตร ผลการวิจัยพบว่า จากการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน พบว่าปัญหาการจัดการเรียนการสอนเกี่ยวกับการป้องกัน และแก้ไขปัญหายาเสพติดอยู่ในระดับปานกลาง และครูมีความต้องการอบรมเกี่ยวกับการป้องกัน และแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษาอยู่ในระดับมาก โดยต้องการรับการฝึกอบรมด้วยวิธีบรรยาย การศึกษารายกรณี และการศึกษาดูงาน ใช้เวลาในการจัดอบรม 3 วัน การยกร่างหลักสูตร ได้ยกร่างตามข้อมูลความต้องการในการฝึกอบรมของครุผู้สอนใน 6 องค์กระกอบ คือ หลักการ จุดมุ่งหมาย โครงสร้าง เนื้อหาวิชา/ระยะเวลาการฝึกอบรม/รายละเอียดเนื้อหา วิธีการจัดการฝึกอบรมและกิจกรรม และการประเมินผล หลักสูตรมีเนื้อหา 2 หมวดวิชา 5 หน่วยความรู้ การประเมินหลักสูตร เพื่อปรับปรุงหลักสูตร พบว่า ผู้เชี่ยวชาญและผู้เกี่ยวข้องเห็นว่า หลักสูตรมีความเหมาะสม
ศิริมาส พฤหัสนันท์ (2543 : บทคัดย่อ) ได้ทาการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเรื่องทักษะและวิธีการสอนสาหรับครูโรงเรียนอาชีวศึกษา สังกัดสังฆมณฑลราชบุรี โดยแบ่งขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตร เป็น 4 ขั้นตอน ดังนี้ 1) การสารวจข้อมูลพื้นฐานเพื่อนามาพัฒนาหลักสูตร 2) การสร้างโครงร่างหลักสูตร 3) ทดลองใช้หลักสูตร และ 4) ประเมินผลหลักสูตร ผลการวิจัยพบว่า ครูมีความพึงพอใจในหลักสูตรฝึกอบรม มีความสนใจมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมฝึกอบรม และมีการนาเสนอที่ตรงจุดประสงค์ ครูฝึกปฏิบัติการสอนเป็นที่น่าพอใจ สามารถนาความรู้ที่ได้รับไปใช้ประยุกต์ ใช้แก้ไขปัญหาในการจัดการเรียนการสอน และการเขียนแผนการสอน มีการใช้กิจกรรมในระหว่างการดาเนินการสอน โดยมีแนวการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ
จากแนวคิด ทฤษฎี ตัวอย่างข้างต้นเป็นแนวทางในการสังเคราะห์รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรได้ดังนี้
การพัฒนาหลักสูตรอบรมครูสังคมศึกษาการจัดการเรียนรู้วิชาหน้าที่พลเมือง และวิชาประวัติศาสตร์
ดังนั้นผู้นาเสนอจึงสังเคราะห์กระบวนการในการพัฒนาหลักสูตรอบรมครูสังคมศึกษาการจัดการเรียนรู้วิชาหน้าที่พลเมือง และวิชาประวัติศาสตร์ 4 ขั้นตอน ดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการจาเป็น
1) ศึกษาสภาพปัญหา เกี่ยวกับปัญหาการจัดการเรียนรู้วิชาหน้าที่พลเมือง และวิชาประวัติศาสตร์
2) การประเมินความต้องการจาเป็น ดาเนินการสารวจความต้องการของกลุ่มตัวอย่างเช่น ครูผู้สอนในสาระชาสังคมศึกษา ศิลปะและวัฒนธรรมที่ ผู้บริหารโรงเรียน นักวิชาการ เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานในการจัดอบรมให้ความรู้ต่อไป
3) ศึกษานโยบายการศึกษา โดยศึกษานโยบายการศึกษา เช่น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พระราชบัญญัติการศึกษา ปรัชญาการศึกษา แนวคิด ทฤษฎีของนักวิชาการทางการศึกษา ผลการวิจัย เพื่อเป็นข้อมูลสนับสนุนในการพัฒนาหลักสูตรการอบรมพัฒนาครูสอนสาระสังคมศึกษา

ขั้นตอนที่ 2 พัฒนาหลักสูตร
1. สังเคราะห์ข้อมูลสภาพปัญหาและความต้องการจาเป็น แนวคิด ทฤษฎี ปรัชญาการศึกษา
จิตวิทยาการเรียนรู้ จากขั้นตอนที่ 1
2.กาหนดจุดหมายทั่วไป (aim)
3.ประเมินสภาพปัญหา (needs assessment)
4.กาหนดจุดประสงค์การอบรม (goal)
5.ออกแบบหลักสูตรเลือกเทคนิคการฝึกอบรม
6.การสร้างคู่มือหลักสูตรฝึกอบรม
7.ประเมินหลักสูตรโดยผู้เชี่ยวชาญ
ขั้นตอนที่ 3 การใช้หลักสูตร
1.ขออนุมัติใช้หลักสูตร
2.จัดตารางฝึกอบรม
3.เตรียมสื่อการฝึกอบรม
4.ประชุมคณะทางาน
5.ทดสอบก่อนฝึกอบรม
6.จัดอบรมตามแผนการฝึกอบรม
7.ผลการฝึกอบรมแต่ละหน่วย 39

ขั้นตอนที่ 4 ประเมินหลักสูตร
1.การประเมินเอกสารหลักสูตร
2.การประเมินผลการใช้หลักสูตร
3.การจัดเตรียมผลป้อนกลับ
คู่มืออบรมครูสังคมศึกษา
ความหมายของคู่มือ
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน(2538:126) ได้ให้ความหมายของคู่มือไว้ว่า หมายถึง สมุดหรือหนังสือที่แต่งขึ้นเพื่อใช้ประกอบวิชาหรืออานวยความสะดวกเกี่ยวกับการศึกษาเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
กัญญา ศิริกุล(2532:242) ได้กล่าวถึงคู่มือ (Handbook) ไว้ว่า นิยมจัดทาเป็นรูปเล่มทาให้สามารถให้รายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ ได้มากขึ้น และมักจะมีภาพประกอบเพื่อดึงความสนใจเพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น
ปิยพันธ์ แสนทวีสุข (2540:242) กล่าวถึงคู่มือ (Manual) หมายถึง เอกสารที่รวบรวมเนื้อหาทั้งทฤษฎีและแบบฝึกปฏิบัติ
ฉลอง นุ้ยฉิม (2542:27) ได้ให้ความหมายของคู่มือไว้ คือ หนังสือเล่มเล็กที่ให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยมีรายละเอียดที่ง่ายต่อการรับรู้ เข้าใจ และมักมีภาพประกอบด้วยเสมอ
Manual (n.) หมายถึง คู่มือ (สอ เสถบุตร 2535 :301)
Manual (n.) หมายถึง คู่มือ ตารา (...สฤษดิคุณ กิติยากร 2539 : 301)
Manual (n.) หมายถึง คู่มือ (วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม 2541 : 344)
Manual (n.) หมายถึง หนังสือที่มีข้อมูลเกี่ยวกับวิธีใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ต่างๆ Long man 1992 : 809)
จากความหมายของคู่มือข้างต้น สรุปได้ว่า คู่มือ (Manual) หมายถึงหนังสือหรือเอกสารที่จัดทาขึ้นอย่างเป็นระบบเพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจ อานวยความสะดวกและเป็นแนวทางในการปฏิบัติเรื่องใดเรื่องหนึ่ง มีภาพประกอบและแผนภูมิลักษณะต่างๆ เพื่อดึงความสนใจและเพื่อให้เข้าใจได้ง่ายยิ่งขึ้น
ขั้นตอนการพัฒนาคู่มือ
ในการจัดทาคู่มือจะต้องคานึงว่า คู่มือที่สร้างขึ้นมานั้น มีความจาเป็นอย่างไร โดยคู่มือเป็นแหล่งของความรู้ของผู้ศึกษา และที่สาคัญคู่มือจะเป็นตัวช่วยให้มีความเข้าใจมากขึ้นและสามารถที่จะนาไปปฏิบัติได้ถูกต้องมากขึ้น ในการเขียนคู่มือก็ไม่จาเป็นต้องมีความเชี่ยวชาญเช่นกัน เพราะหากเป็นผู้เชี่ยวชาญแล้ว คู่มือก็จะไม่มีความจาเป็นอีกต่อไป ทั้งนี้ผู้เชี่ยวชาญจะมีส่วนช่วยอย่างมากในการให้คาแนะนาต่างๆ เช่น แก้ไข การยกตัวอย่าง เป็นต้น (คีรีบูน จงวุฒิเวศย์ และ มาเรียม นิลพันธุ์ 2542 : 14)
สาหรับขั้นตอนในการพัฒนาคู่มือ มี 3 ขั้นตอนใหญ่ๆ ดังนี้
1. การวางแผนร่างคู่มือ คาถามต่อไปนี้จะเป็นข้อมูลในการตัดสินใจการวางแผนร่างคู่มือ
1.1 จุดมุ่งหมายของคู่มือคืออะไร นั่นคือต้องการให้ผู้ใช้เป็นอย่างไร เช่น ใช้คู่มือในการแก้ปัญหา ใช้คู่มือกากับการปฏิบัติ หรือใช้ก่อนการปฏิบัติงาน เป็นต้น
40


1.2 ใครเป็นผู้ใช้คู่มือเหล่านี้ ถ้ากาหนดผู้ใช้คู่มือ เราจะทราบถึงความต้องการเฉพาะบางประการของผู้ใช้ทันที พยายามสร้างคู่มือที่มีผู้ใช้ประเภทเดียวกันเท่านั้น เป็นการยากที่จะทาคู่มือสาหรับผู้ใช้หลายประเภท เพราะผู้ใช้อาจมีระดับการศึกษาที่ต่างกัน ดังนั้น ความต้องการในแต่ละระดับจึงแตกต่างกัน เป็นการยากที่จะทาคู่มือให้สามารถครอบคลุมความต้องการทั้งหมดในแต่ละระดับได้ การสร้างคู่มือที่มีผู้ใช้ประเภทเดียวจะทาให้คู่มือนั้นมีประสิทธิภาพมากขึ้น
1.3 การสอบถามผู้ใช้ว่าพวกเขาต้องการคู่มือแบบไหน เช่น ไม่ต้องการเนื้อหามากหรือต้องการรูปภาพประกอบ การสร้างพยายามสร้างให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้มากที่สุด
1.4 คู่มือนี้จะใช้ที่ไหน
1.5 คู่มือนี้จะใช้อย่างไร เช่น ถ้าผู้ใช้ต้องการใช้เพื่อประกอบขั้นตอนการปฏิบัติ ผู้สร้างคู่มือจึงควรจะมีร่างขั้นตอนการทางานประกอบ
1.6 การนาข้อมูลมาใช้ในคู่มือ ก่อนอื่นผู้สร้างต้องสามารถชี้ชัดถึงสิ่งที่ต้องการใช้ ผู้ใช้ปฏิบัติ จากนั้นมาพิจารณาความถนัด ทัศนคติ และความรู้ที่ผู้ใช้ต้องการในการปฏิบัติ
1.7 กาหนดขอบเขตการปฏิบัติงาน จะได้ทราบว่าผู้ใช้ต้องทาอย่างไร
1.8 การกาหนดข้อมูลในแต่ละขั้นตอน
1.9 การลาดับเนื้อหาในการเขียน
2. การเตรียมข้อมูลในการพัฒนาคู่มือ
2.1 การเขียนหัวข้อใหม่และหัวข้อย่อย
2.2 จัดลาดับหัวข้อเหล่านั้น
2.3 วางแนวการนาข้อมูลใส่ในแต่ละหัวข้อ
2.4 เริ่มต้นเขียนเนื้อหา โดยการใช้คาง่ายๆ และสั้นๆ อธิบายความหมาย ศัพท์เฉพาะ มีการยกตัวอย่าง มีความต่อเนื่องของลาดับเนื้อหา เป็นต้น
2.5 วางแผนการสาธิตตัวอย่าง
3. การทดสอบคู่มือ เราจะทดสอบคู่มือในเรื่องดังนี้
3.1 เนื้อหาคู่มือ
3.2 รูปแบบ
3.3 ผลกระทบ

ในการทดสอบนั้นเราควรกาหนดผู้ทาการทดสอบและวิธีการทดสอบหลังจากนั้นนาคู่มือไปตรวจสอบ และนาผลที่ได้มาทาการแก้ไข
อาทิตยา โล่พัฒนานนท์ (2535 : 31-35) กาหนดขั้นตอนการสร้างคู่มือมี 3 ขั้นตอน คือ
1. การวางแผนร่างคู่มือ
2. การเตรียมข้อมูลในการสร้างคู่มือ
3. การทดสอบคู่มือ

ยุพเรศ วังยายฉิม (2540:33) เสนอแนวทางการพัฒนาคู่มือ ดังนี้
1. ศึกษาข้อมูลเบื้องต้นเพื่อวิเคราะห์เนื้อหาและรูปแบบของคู่มือ
2. วิเคราะห์ลักษณะของผู้ใช้คู่มือ
3. กาหนดวัตถุประสงค์ ขอบข่ายเนื้อหา ความคิดรวบยอดในการให้ความรู้
4. สารวจรายละเอียดและกาหนดจุดในการให้ความรู้
41


5. เขียนเนื้อหาของคู่มือให้ผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบความเหมาะสม
6. ออกแบบลักษณะรูปเล่ม ภาพประกอบ และจัดพิมพ์ตามกระบวนการผลิต นาไปทดลองใช้กับกลุ่มเป้าหมาย เพื่อพัฒนาคุณภาพของเครื่องมือ

สกุณา ยวงทอง (2542 : 29) กาหนดขั้นตอนการพัฒนาคู่มือ ดังนี้ คือ
1. ศึกษาข้อมูลเบื้องต้นที่เกี่ยวกับงานวิจัย จากเอกสาร ตารา หลักสูตร งานวิจัยต่างๆ
2. วิเคราะห์ผู้ใช้คู่มือ
3. กาหนดวัตถุประสงค์และกาหนดขอบข่ายเนื้อหากว้างๆ ของคู่มือ
4. สารวจรายละเอียดของกาหนดจุดศึกษาในคู่มือ
5. เขียนเนื้อหาของคู่มือตามวัตถุประสงค์ และขอบข่ายเนื้อหากว้างๆ ของคู่มือ
6. ออกแบบรูปเล่ม ภาพประกอบ จัดพิมพ์ ทดลองใช้ ตามกระบวนการพัฒนาคุณภาพ คู่มือ แก้ไข ปรับปรุง
7. นาไปใช้กับกลุ่มทอดลองเพื่อการเก็บรวบรวมข้อมูล

ฉลอง นุ้ยฉิม (2542 : 109-110) สรุปขั้นตอนในการผลิตคู่มือสื่อความหมายธรรมชาติและประวัติศาสตร์ได้ดังนี้
1. ศึกษาเอกสารข้อมูลเบื้องต้นอุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า
2. สารวจและกาหนดแหล่งนันทนาการที่ต้องการใช้สื่อความหมาย
3. ประเมินความคาดหวังของนักท่องเที่ยวเกี่ยวกับเนื้อหาที่ต้องการในแหล่งนันทนาการ
4. เดินสารวจและบันทึกข้อมูลรายละเอียดต่างๆ ในบริเวณแหล่งนันทนาการ
5. ศึกษาเอกสารและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งนันทนาการในแต่ละแห่งเพื่อใช้สาหรับการสร้างเนื้อหา
6. กาหนดจุดมุ่งหมายและขอบเขตเนื้อหา
7. เขียนเนื้อหา กาหนดรูปแบบ และองค์ประกอบคู่มือ และจัดทาต้นฉบับการปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิเป็นระยะๆ
8. พัฒนาคู่มือโดยการทดลองใช้กับนักท่องเที่ยวเป็นรายบุคคล จานวน 2 คน เป็นกลุ่มเล็ก จานวน 6 คน และประเมินคุณภาพคู่มือ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ
9. จัดพิมพ์คู่มือฉบับที่ใช้ในการทดลอง

จากรายละเอียดข้างต้นสรุปขั้นตอนการพัฒนาคู่มือ ดังนี้ 1) การสารวจข้อมูลพื้นฐาน 2)การพัฒนาคู่มือ 3) การทดสอบคู่มือ และ4) ประเมินคุณภาพคู่มือ
การพัฒนาคู่มือ
การที่จะให้คู่มือ ซึ่งเป็นสื่อการเรียนประเภทหนึ่งที่จะผลิตขึ้นใช้นั้นมีประสิทธิภาพต่อการให้ความรู้ความเข้าใจ ก่อนที่จะนาคู่มือไปใช้จริงจึงควรมีการพัฒนาให้ได้มาตรฐานเสียก่อน ขั้นตอนหนึ่งที่สาคัญในการพัฒนาสื่อการเรียนต่างๆ คือ ขั้นทดลองใช้และแก้ไขปรับปรุง โดยมีวิธีการในขั้นแรก คือ การทดลองเบื้องต้นครั้งที่ 1 (Tryout 1) เป็นการทดลองใช้เป็นรายบุคคล หรือการทดลองแบบ 1 ต่อ 1 (Individual Tryout) แล้วแก้ไขปรับปรุง หลังจากนั้น เป็นการทดลองใช้เบื้องต้นครั้งที่ 2 (Tryout 2) ซึ่งเป็นการทดลองใช้กับกลุ่มเล็ก (Small – group Tryout) ประมาณ 5 -10 คน แล้วแกไขปรับปรุงอีกครั้งหนึ่ง ขั้นสุดท้ายนาคู่มือที่ผ่านการแก้ไขปรับปรุงครั้งหลังสุดไปทดลองใช้กับกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งเป็นกลุ่มใหญ่ในสถานการณ์จริง และทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จากนั้นวิเคราะห์ผล เพื่อหาประสิทธิภาพของคู่มือว่าสามารถนาไปใช้ได้หรือไม่ เพื่อพิจารณาผลิตใช้ต่อไป (บุญชม ศรีสะอาด 2537 : 76-100, อ้างถึงใน ฉลอง นุ้ยฉิม 2542 : 30-31) 42

นอกจากนั้น การหาประสิทธิภาพของคู่มือ กระทาด้วยวิธีการ IOC (Index of Item Objective Consistency) ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา (Construct validity) โดยการหาดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคาถามกับลักษณะเฉพาะของกลุ่มพฤติกรรม ซึ่งผู้เชี่ยวชาญแต่ละท่านพิจารณาลงความเห็นและให้คะแนน ดังนี้
+ 1 เมื่อแน่ใจว่าข้อคาถามนั้นเป็นตัวแทนลักษณะเฉพาะกลุ่มพฤติกรรมนั้น
0 เมื่อไม่แน่ใจว่า ข้อคาถามนั้นเป็นตัวแทนลักษณะเฉพาะกลุ่มพฤติกรรมนั้นหรือไม่
- 1 เมื่อแน่ใจว่าข้อคาถามไม่เป็นตัวแทนลักษณะเฉพาะกลุ่มพฤติกรรมนั้น

แล้วนาคะแนนที่ได้มาแทนค่าสูตร
IOC = Σ
เมื่อ IOC หมายถึง ดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคาถามกับลักษณะพฤติกรรม
Σ หมายถึง ผลรวมของคะแนนความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญเนื้อหาทั้งหมด
N หมายถึง จานวนผู้เชี่ยวชาญ
ถ้าค่า ที่คานวณได้มากกว่าหรือเท่ากับ 0.5 ถือว่ามีความสอดคลองเหมาะกม ถ้าค่าที่คานวณได้มีค่าต่ากว่า 0.5 ถือว่าไม่มีความสอดคล้อง ไม่เหมาะสม (พวงรัตน์ ทวีรัตน์ 2540 : 117)
การผลิตคู่มือ
การผลิตคู่มือที่ไดออกแบบแล้วให้เป็นรูปเล่มจริงขึ้นมานั้น จะเลือกใช้วิธีการใดย่อมขึ้นอยู่กับงบประมาณที่มีคุณภาพ ตามต้องการ ข้อจากัดในเรื่องเวลา และทรัพยากรอื่นๆ ที่ใช้ในการผลิต เพราะสิ่งต่างๆ เหล่านี้เกี่ยวข้องกับกระบวนการในการผลิต ซึ่งมักจะเกี่ยวโยงไปถึงวีการในการผลิตเนื้อหาและหัวข้อเรื่องการจัดทาภาพประกอบ การจัดวางรูปแบบเนื้อหาและงานกราฟฟิก การทาแม่พิมพ์ต้นแบบและการพิมพ์ออกมาเป็นรูปเล่มในที่สุด (Zehr et al. 1994 : 59, อ้างถึงใน ฉลอง นุ้ยฉิม 2542 : 31)
ลักษณะของคู่มือที่ดี
จากผลงานวิจัยของ (คีรีบูน จงวุฒิเวศย์ และ มาเรียม นิลพันธุ์ 2542 : 17-18) ได้แยกลักษณะของคู่มือที่ดีเป็น 3 ด้าน คือ
1. ด้านเนื้อหา
1.1 เนื้อหาสาระหรือรายละเอียดในคู่มือควรตรงกับเรื่องที่ศึกษา และไม่ยากจนเกินไปจนทาให้ไม่มีผู้สนใจจะหยิบอ่าน
1.2 การนาเสนอเนื้อหาควรให้เหมาะสมกับพื้นความรู้ของผู้ที่จะศึกษา
1.3 ข้อมูลที่มีในคู่มือ ผู้อ่านสามารถประยุกต์ใช้ได้
1.4 เนื้อหาควรเหมาะสมที่จะนาไปอ้างอิงได้
1.5 ควรมีกรณีตัวอย่างประกอบในบางเรื่องเพื่อจะได้ทาความเข้าใจง่าย
1.6 ควรมีการปรับปรุงเนื้อหาของคู่มือให้ทันสมัยเสมอ
2. ด้านรูปแบบ
2.1 ตัวอักษรที่ใช้ควรมีตัวโต และมีรูปแบบที่ชัดเจน อ่านง่ายเหมาะกับผู้ใช้คู่มือ
2.2 ควรมีภาพหรือตัวอย่างประกอบเนื้อหา
2.3 ลักษณะการจัดรูปเล่มควรทาให้น่าสนใจ
2.4 การใช้ภาษาควรให้เข้าใจง่าย เหมาะสมกับผู้ใช้คู่มือ
2.5 ระบบการนาเสนอควรเป็นระบบจากง่ายไปยาก หรือเป็นเรื่องๆ ให้ชัดเจน
43


3. ด้านการนาไปใช้
3.1 ควรระบุขั้นตอน วิธีการใช้คู่มือให้ชัดเจน
3.2 มีแผนภูมิตาราง ตัวอย่างประกอบให้สามารถนาไปปฏิบัติได้จริง
3.3 มีข้อมูลเพื่อสามารถประสานงานต่างๆ ได้สะดวกรวดเร็ว
3.4 บอกสิทธิประโยชน์ และข้อควรปฏิบัติให้เข้าใจง่าย

กันทิมา เอมประเสริฐ (2542 : 34-35) กล่าวถึงลักษณะของคู่มือที่ได้ในการพัฒนาคู่มือการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานออกเป็น 4 ด้าน คือ
1. ด้านความสามารถในการใช้งาน
1.1 ในคู่มือควรมีเนื้อหาที่บรรจุสาระหรือรายละเอียดที่ตรงกับเรื่องที่ศึกษาและเนื้อหาไม่ยากจนเกินไป จนทาให้ไม่มีผู้สนใจที่จะหยิบอ่าน
1.2 การนาเสนอเนื้อหาควรให้เหมาะสมกับพื้นความรู้ของผู้ที่จะศึกษา
1.3 ข้อมูลที่มีในคู่มือ ผู้อ่านสามารถประยุกต์ใช้ได้
1.4 เนื้อหาควรเหมาสมที่จะนาไปอ้างอิงได้
1.5 ควรมีกรณีตัวอย่างประกอบในบางเรื่อง เพื่อจะได้ทาความเข้าใจง่าย ควรมีการปรับปรุงเนื้อหาของคู่มือให้ทันสมัยเสมอ
1.6 อักษรที่ใช้ควรมีตัวโต และมีรูปแบบที่ชัดเจน อ่านง่าย เหมาะกับผู้ใช้คู่มือ
1.7 ควรมีภาพหรือตัวอย่างประกอบเนื้อหา
1.8 ลักษณะการจัดรูปเล่มควรทาให้น่าสนใจ
1.9 การใช้ภาษาควรให้เข้าใจง่าย เหมาะสมกับผู้ใช้คู่มือ
1.10 ควรระบุขั้นตอน วิธีการใช้คู่มือให้ชัดเจน
1.11 มีแผนภูมิ ตาราง ตัวอย่างประกอบให้สามารถนาไปปฏิบัติได้จริง
1.12 มีข้อมูลเพื่อสามารถใช้เพื่อประสานงานต่างๆ ได้สะดวกรวดเร็ว บอกสิทธิประโยชน์และข้อควรปฏิบัติให้เข้าใจง่าย
2. ด้านความเที่ยงตรงในการใช้งาน
2.1 ครูที่ศึกษาคู่มือสามารถจัดการเรียนรู้แล้วได้โครงงานจริง
2.2 ผู้เชี่ยวชาญอ่านแล้วเห็นว่า เนื้อหาถูกต้องมีความเหมาะสม
3. ด้านความเชื่อมั่นในการใช้งาน
3.1 ครูทุกคนศึกษาคู่มือแล้วปฏิบัติจริง
3.2 ครูสามารถใช้คู่มือการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานได้ในทุกวิชา หรือทุกกลุ่มประสบการณ์
3.3 ครุทุกคนอ่านคู่มือแล้วเข้าใจตรงกัน
4. ด้านประสิทธิภาพต่อนักเรียน
4.1 นักเรียนที่เรียนจากคู่มือการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานมีความรู้
4.2 นักเรียนมีคุณภาพตามวัตถุประสงค์ของโครงงาน
4.3 ผลงานที่ได้เป็นโครงงานที่ดี คือสนองแนวปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้

จากรายละเอียดของลักษณะคู่มือดังกล่าว ผู้วิจัยสรุปได้ว่าคู่มือที่ดี ควรมีลักษณะดังนี้
1. ตัวอักษรที่ใช้ควรมีตัวโต ภาษาเข้าใจง่าย
2. ลักษณะการจัดรูปเล่มน่าสนใจ และขนาดรูปเล่มไม่เล็กไม่ใหญ่เกินไป
3. มีแผนภูมิ ตาราง ภาพประกอบ และตัวอย่างประกอบเพื่อให้สามารถนาไปปฏิบัติได้จริง
44


4. ควรระบุขั้นตอน วิธีการใช้คู่มือให้ชัดเจน
5. ระบบการนาเสนอควรเป็นระบบจากง่ายไปยาก หรือเป็นเรื่องๆ ให้ชัดเจน
6. การนาเสนอเนื้อหาถูกต้อง ชัดเจน และบรรจุสาระหรือรายละเอียดที่ตรงกับเรื่องที่ศึกษา
7. เนื้อหาควรเหมาะสมที่จะนาไปอ้างอิงได้ในโอกาสต่อไป
8. ข้อมูลที่มีในคู่มือ ผู้อ่านสามารถประยุกต์ใช้ได้
9. ผู้ศึกษาข้อมูลอ่านคู่มือแล้วมีความเข้าใจตรงกัน และสามารถนาไปปฏิบัติได้จริง

องค์ประกอบของคู่มือ
จากการศึกษางานวิจัย และเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับคู่มือ มีรายละเอียดดังนี้
คู่มือการให้คาปรึกษาทางโภชนาการ สาหรับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ในชุมชนในเขตเมืองของอาทิตยา โล่พัฒนานนท์ (2535) ประกอบด้วย
- บทนา
- การคัดกรองผู้รับบริการ
- การค้นหาปัจจัยเกื้อหนุน
- วิธีการให้คาปรึกษา

คู่มือฝึกอบรมเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนแบบหน่วยบูรณาการ วิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ของสานักงานประสานงานโครงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (2540) ประกอบด้วย
- บทนา
- หลักการของการฝึกอบรม
- เป้าหมายของการฝึกอบรม
- จุดประสงค์ของการฝึกอบรม
- โครงสร้างเนื้อหา
- กระบวนการที่ใช้ในการฝึกอบรม
- สื่อที่ใช้ในการฝึกอบรม
- กลุ่มเป้าหมายในการเข้ารับการฝึกอบรม
- การติดตามและการประเมินผล

คู่มือศึกษาธรรมชาติประจาเส้นทางเดินป่าในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่สาหรับนักท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ของยุพเรศ วังยายฉิม (2540) ประกอบด้วย
- บทนา
- การเตรียมตัวก่อนเดินป่า
- ข้อควรทราบ
- เนื้อเรื่อง(จุดให้ความรู้ 20 จุด)

คู่มือการเรียนการสอน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ สาหรับครูผู้สอนระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษา (2541) ประกอบด้วย
- บทที่ 1 ความสาคัญของการเรียนรัฐธรรมนูญ
- บทที่ 2 ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
- บทที่ 3 หลักการเจตนารมณ์โครงสร้างและสรุปสาระสาคัญ
- บทที่ 4 แนวคิดในการสร้างสังคมประชาธิปไตย
45


- บทที่ 5 การนารัฐธรรมนูญไปใช้

คู่มือพัฒนาโรงเรียนด้านการเรียนรู้ ของ กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ สาหรับโรงเรียน (2541) ประกอบด้วย
- แบบสารวจตนเองในการจัดการเรียนการสอน
- ใบงานที่ 1-7 กระบวนการเรียนรู้ ธรรมนูญโรงเรียน ระบบบริหาร และระบบนิเทศ
- ใบความรู้ ทฤษฎี แนวคิด หลักการ และนโยบายในการพัฒนาหลักสูตร และกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการทางปัญญา

การพัฒนาคู่มือการเรียนรู้ โดยใช้คู่มือในระดับประถมศึกษา ของ กันทิมา เอมประเสริฐ (2542) ประกอบด้วย
- คาชี้แจงการใช้คู่มือ
- วัตถุประสงค์
- หลักการ
- แนวการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงาน
- แนวทางการประเมินผล
- เวลาที่ใช้ในการจัดการเรียนรู้

คู่มือศึกษาธรรมชาติประจาเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติในหมู่บ้านแสลงพันธ์ของ สกุณา ยวงทอง สาหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น (2542) ประกอบด้วย
- ชื่อเรื่องที่จะศึกษา
- สื่อจากพื้นที่ศึกษาและสื่ออื่นที่จาเป็นต้องใช้มากที่สุด
- กิจกรรมการเรียน
- แบบฝึกหัดทบทวน
- ตรวจคาตอบ

ดังนั้นจึงสรุปองค์ประกอบคู่มือการพัฒนาหลักสูตรอบรมครูสังคมศึกษาการจัดการเรียนรู้วิชาหน้าที่พลเมือง และวิชาประวัติศาสตร์ ดังนี้
1. หลักการและเหตุผล
2. จุดมุ่งหมายของการพัฒนาครู
3. สาระในการอบรม
4. ตารางการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ ระยะที่ 1
5. วัตถุประสงค์การอบรม
6. แนวทาง/หลักเกณฑ์การประเมินเพื่อพิจารณาการผ่านการอบรม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น